ปัจจัยการออกแบบกระดาษ

วัสดุพิมพ์มีคุณลักษณะที่สามารถตรวจวัดได้ซึ่งคุณจำเป็นต้องพิจารณาเมื่อเลือกหรือออกแบบรูปแบบสำหรับแอปพลิเคชันเฉพาะของคุณ

น้ำหนักพื้นฐาน

น้ำหนักพื้นฐาน คือคำที่ใช้ในการอธิบายถึงน้ำหนักในหน่วยปอนด์ของกระดาษจำนวน 500 แผ่น (หนึ่งรีม) อย่างไรก็ตาม ขนาดกระดาษมาตรฐานจะเป็นตัวกำหนดน้ำหนัก ซึ่งอาจไม่ใช่ขนาดที่ซื้อ ดังนั้น น้ำหนักมาตรฐานจะไม่สามารถเปรียบเทียบได้ง่ายเสมอไป ตัวอย่างเช่น ขนาดมาตรฐานของกระดาษปอนด์ 20 ปอนด์ ซึ่งมีขนาดเท่ากับ 17 x 22 นิ้ว และหนึ่งรีมจะมีน้ำหนัก 20 ปอนด์ ในกรณีที่กระดาษถูกตัดเพื่อให้ได้กระดาษขนาด 8.5 x 11 นิ้วสี่รีม แต่ละรีมจะมีการติดป้ายกำกับเป็นกระดาษปอนด์ 20 ปอนด์ แต่จะมีน้ำหนักเพียงห้าปอนด์เท่านั้น

หากกระดาษแบบเดียวกันหนัก 24 ปอนด์ จะเรียกว่ากระดาษปอนด์ 24 ปอนด์ กระดาษปอนด์ 24 ปอนด์มีความหนากว่า หนักกว่า และมีความหนาแน่นกว่าขนาด 20 ปอนด์ กระดาษที่หนากว่าหมายความว่า สามารถใส่กระดาษลงในถาดได้น้อยกว่า กระดาษที่หนักกว่าและหนาแน่นกว่าอาจทำให้เกิดปัญหากระดาษติด หรือมีปัญหาเรื่องความน่าเชื่อถือในการป้อนกระดาษในเครื่องพิมพ์บางรุ่น เพื่อยืนยันว่าน้ำหนักพื้นฐานของกระดาษที่ใช้สามารถยอมรับได้ โปรดดูตารางน้ำหนักกระดาษที่รองรับใน ที่พักกระดาษเฉพาะเครื่องพิมพ์

ทั้งนี้ ไม่ใช่น้ำหนักพื้นฐานทั้งหมดที่จะเกี่ยวข้องกับขนาดกระดาษมาตรฐานเดียวกัน ตัวอย่างเช่น วัสดุขนาด 70 ปอนด์อาจเบากว่าวัสดุ 40 ปอนด์ หากเป็นกระดาษขนาดที่ใหญ่กว่ามาตรฐาน หน่วยวัดเมตริก แกรมต่อตารางเมตร (แกรม 2 ) เป็นวิธีการที่แน่นอนมากกว่าในการเปรียบเทียบน้ำหนัก และองค์การระหว่างประเทศว่าด้วยการมาตรฐาน (ISO) ระบุว่าเป็นหน่วยมาตรฐาน

เครื่องพิมพ์ของคุณสามารถยอมรับน้ำหนักกระดาษได้หลากหลาย แต่วัสดุที่เบาหรือหนักเกินไปอาจทำให้เกิดปัญหาในการพิมพ์ วัสดุที่หนักและหนาเกินไปอาจไม่ร้อนเร็วพอในฟิวเซอร์ ทำให้คุณภาพการพิมพ์ย่ำแย่ และยังอาจป้อนกระดาษน่าเชื่อถือน้อยกว่าหรือเกิดการบิดเบี้ยว เนื่องจากน้ำหนักหรือความแข็งทื่อของวัสดุ ในทางกลับกัน วัสดุที่เบากว่าอาจเกิดรอยย่นและติดในเครื่องพิมพ์ เนื่องจากแกนมีความแข็งแรงต่ำ (แข็งทื่อ)

ใช้ตารางต่อไปนี้เพื่อเปรียบเทียบน้ำหนักของสื่อประเภทต่าง ๆ

เมตริกที่เทียบเท่ากัน (แกรม 2 )

น้ำหนักพื้นฐาน (ปอนด์/รีม)

กระดาษปอนด์

431.8 x 558.8 มม.

(17 x 22 นิ้ว)

ออฟเซ็ต

635 x 965.2 มม.

(25 x 38 นิ้ว)

หน้าปก

508 x 660.4 มม.

(20 x 26 นิ้ว)

Printing Bristol

571.5 x 889 มม.

(22.5 x 35 นิ้ว)

Index Bristol

647.7 x 774.7 มม.

(25.5 x 30.5 นิ้ว)

แท็ก

609.6 x 914.4 มม.

(24 x 36 นิ้ว)

60

16

40

18

23

33

37

75

20

51

28

34

42

46

80

21

51

30

36

44

49

90

24

61

33

41

50

55

100

27

68

37

46

55

62

110

29

74

41

50

61

68

120

32

81

44

55

66

74

145

39

98

54

66

80

89

160

43

108

59

73

88

98

175

47

118

65

80

97

108

200

53

135

74

91

111

123

215

57

145

80

98

119

132

255

68

172

94

116

141

157

260

69

176

96

119

144

160

300

80

203

111

137

166

184


คุณอาจต้องร้องขอให้ตัดวัสดุที่หนักกว่าเป็นแบบเกรนสั้นหรือเกรนยาวเพื่อทำให้เกิดความยืดหยุ่นในการหมุนพาธของกระดาษ โดยขึ้นอยู่กับแนวพิมพ์ของกระดาษเมื่อป้อนเข้าเครื่องพิมพ์

สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับน้ำหนักที่เครื่องพิมพ์ของคุณรองรับได้ โปรดดูข้อมูลจำเพาะของเครื่องพิมพ์แต่ละรุ่นในเอกสารฉบับนี้

ขนาด

เครื่องพิมพ์ทั้งหมดมีขีดจำกัดเกี่ยวกับขนาดของวัสดุพิมพ์ สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม โปรดดูที่เอกสารประกอบของเครื่องพิมพ์ ในบางครั้ง คุณสามารถออกแบบเอาต์พุตที่พิมพ์ได้ใหม่เพื่อเอาชนะขีดจำกัดดังกล่าว ตัวอย่างเช่น หากเอกสารของคุณสั้นกว่าความยาวขั้นต่ำที่เครื่องพิมพ์รองรับ คุณจะสามารถนำเอกสารสองรายการลงในกระดาษแผ่นเดียว

สภาพแวดล้อม

เครื่องพิมพ์ของ Lexmark มีคุณสมบัติเป็นไปตามหรือเกินกว่าระเบียบข้อบังคับและมาตรฐานการปล่อยของเสียของอุตสาหกรรมทั้งหมด การพิมพ์ต่อเนื่องบนกระดาษบางประเภทหรือวัสดุอื่นอาจทำให้เกิดควัน ซึ่งไม่ใช่ปัญหาที่เกิดกับการพิมพ์แบบครั้งคราว โปรดตรวจสอบว่าเครื่องพิมพ์ของคุณตั้งอยู่ในบริเวณที่อากาศถ่ายเทได้ดี

ทั้งนี้ อุณหภูมิและความชื้นอาจส่งผลกระทบอย่างมากต่อการพิมพ์ แม้แต่การเปลี่ยนแปลงเล็กน้อย (เช่น จากกลางวันเป็นกลางคืน) ก็อาจส่งผลอย่างมากต่อความน่าเชื่อถือในการป้อนกระดาษอย่างมาก เมื่อวัสดุพิมพ์อยู่ภายในช่วงที่ยอมรับได้เท่านั้น

เราแนะนำให้คุณปรับสภาพกระดาษในระหว่างที่กระดาษยังคงอยู่ในห่อกระดาษดั้งเดิม จัดเก็บกระดาษไว้ในสภาพแวดล้อมเดียวกันกับเครื่องพิมพ์เป็นเวลา 24-48 ชั่วโมงก่อนการพิมพ์ เพื่อให้กระดาษคงตัวที่สภาวะแบบใหม่ คุณอาจจำเป็นต้องขยายเวลาออกไปหลายวันเมื่อสภาพแวดล้อมการจัดเก็บหรือการขนส่งแตกต่างจากสภาพแวดล้อมของเครื่องพิมพ์เป็นอย่างมาก นอกจากนี้ กระดาษแบบหนายังจำเป็นต้องมีระยะการปรับสภาพที่ยาวนานกว่า เนื่องจากมวลของวัสดุ

หากคุณนำห่อกระดาษออกจากสต็อกก่อนที่จะพร้อมป้อนลงในเครื่องพิมพ์ สต็อกจะมีความชิ้นที่ไม่สม่ำเสมอกันซึ่งทำให้กระดาษม้วนงอ ก่อนป้อนกระดาษ เราแนะนำไม่ให้ความม้วนงอเกินกว่า 3 มม. (0.125 นิ้ว) วัสดุที่เบากว่า เช่น ฉลากกระดาษและแบบฟอร์มในตัวบางอย่างมีแนวโน้มมากกว่าที่จะเกิดปัญหาการพิมพ์ หากกระดาษม้วนงอ

ผู้ผลิตฉลากส่วนใหญ่แนะนำให้พิมพ์ในช่วงอุณหภูมิ 18–24°C (65–75°F) ที่ความชื้นสัมพัทธ์ระหว่าง 40 ถึง 60 เปอร์เซ็นต์ เครื่องพิมพ์ Lexmark ได้รับการออกแบบให้ทำงานในช่วงอุณหภูมิ 15.5–32°C (60 - 90°F) ที่ความชื้นสัมพัทธ์ระหว่าง 8 ถึง 80 เปอร์เซ็นต์ การพิมพ์ในสภาพแวดล้อมภายนอกคำแนะนำดังกล่าวอาจทำให้กระดาษติด เกิดปัญหาในการป้อนกระดาษ คุณภาพการพิมพ์ลดลง และฉลากลอกออก

หมึกพิมพ์ล่วงหน้า

กระดาษแบบฟอร์มมีส่วนประกอบกึ่งของเหลวและลบเลือนได้ แม้อยู่ในอุณหภูมิและความดันสูงที่ใช้ในกระบวนการพิมพ์เลเซอร์ หมึกพิมพ์ล่วงหน้าและสภาพสีมีความทนทานที่อุณหภูมิของฟิวเซอร์สูงสุดไม่เกิน 225°C (437°F) และความดันไม่เกิน 25 psi โดยไม่ทำให้เครื่องพิมพ์เปื้อน หรือทำให้เกิดควันที่เป็นอันตราย

เราไม่แนะนำให้ใช้หมึกเทอร์โมกราฟ หมึกเทอร์โมกราฟให้ความรู้สึกของแว็กซ์ และภาพที่พิมพ์จะนูนกว่าระดับพื้นผิวของวัสดุที่พิมพ์ หมึกเหล่านี้อาจละลายและสร้างความเสียหายต่อชุดประกอบฟิวเซอร์ได้

นอกจากนี้ หมึกที่พิมพ์ล่วงหน้ายังต้องมีคุณสมบัติกันรอยขีดข่วนเพื่อลดปัญหาฝุ่นผงจากหมึกและปัญหาหมึกเปื้อนในเครื่องพิมพ์ หากคุณกำลังพิมพ์ในพื้นที่ที่พิมพ์ล่วงหน้าไว้ หมึกจะต้องรับกับตลับหมึกเพื่อให้แน่ใจถึงการซึมที่เพียงพอ

หมึกที่พิมพ์ล่วงหน้าทั้งหมดต้องแห้งอย่างทั่วถึงก่อนการใช้วัสดุพิมพ์ อย่างไรก็ตาม เราไม่แนะนำให้ใช้ผงพิมพ์ออฟเซ็ต หรือวัสดุแปลกปลอมอื่น ๆ ในการเร่งให้หมึกแห้ง เพื่อพิจารณาว่าหมึกเข้ากันได้กับเครื่องพิมพ์ที่ให้ความร้อนหมึกที่ 225°C (437°F) หรือไม่ โปรดตรวจสอบที่ผู้ผลิตหรือผู้จำหน่ายตัวแปลงหมึกของคุณ

รูเจาะและไดคัท

หากมีการเจาะรู เส้นรู้ที่เจาะควรหยุดที่ 1.6 มม. (0.06 นิ้ว) จากแต่ละขอบของแบบฟอร์ม การทำเช่นนี้จะหลีกเลี่ยงไม่ให้แบบฟอร์มแยกออกจากพาธของเครื่องพิมพ์ ซึ่งทำให้เกิดปัญหากระดาษติด ตำแหน่งของรูที่เจาะจะส่งผลต่อความแรงในการจับกระดาษในตอนเริ่มต้น รูเจาะที่อยู่ใกล้กับขอบมากกว่าอาจทำให้กระดาษติดหลายแผ่น สำหรับวัสดุที่ไวต่อแรงกด เช่น ฉลาก ให้ลดจำนวนรูเจาะซึ่งจะผ่านแผ่นรองรับหรือแผ่นบุรอง

ทั้งนี้ ควรทำการรีดรูที่เจาะให้เรียบเพื่อให้วัสดุพิมพ์ราบเรียบ ลดปัญหาแบบฟอร์มซ้อนกัน ขอบควรเรียบและสะอาด ปราศจากรอยม้วนส่วนเกิน รูเจาะเลเซอร์ (หรือเรียกได้ว่า รูเจาะไมโคร หรือ รูเจาะข้อมูล ) ให้ความคงตัวมากกว่าและเป็นที่แนะนำมากกว่า โดยปกติแล้ว รูเจาะที่มีขนาดเล็กกว่าจะไม่ซ้อนกันหรือไม่ทำให้เกิดฝุ่นและผงส่วนเกินของกระดาษ ตรวจสอบให้แน่ใจว่า ได้นำแกลบและผงจากกระดาษที่เกิดขึ้นในระหว่างกระบวนการแปลงออกแล้วก่อนการบรรจุภัณฑ์

หากรูเจาะ ตั้งแข็งขึ้น หรือพับอยู่ที่เส้นเจาะ รูเจาะดังกล่าวอาจฉีกขาด ทำให้เกิดปัญหากระดาษติด การตั้งแข็งขึ้นอาจทำให้งานพิมพ์บิดเบี้ยว เครื่องฟีดกระดาษสองแผ่น หรือเกิดรอยหมึกเลอะบนวัสดุพิมพ์ก่อนการซึมของหมึกพิมพ์ ส่งผลให้คุณภาพการพิมพ์ไม่ดี เพื่อลดปัญหาการตั้งแข็ง ให้ใช้รูเจาะไมโคร หากวัสดุพิมพ์ขบเบาๆ เมื่อผ่านเครื่องพิมพ์ รูเจาะควรอยู่ในสภาพดีและไม่เสียหาย

การไดคัท ใช้สำหรับสร้างรูปทรงในฉลากหรืองานดีไซน์บนกระดาษแข็ง เมื่อทำการออกแบบฉลาก ให้ลบมุมทั้งหมดเพื่อป้องกันการแยกชั้นของฉลาก และหลีกเลี่ยงรอยตัดผ่านแผ่นบุรอง (รอยตัดรูปตัววี) ทั้งนี้ ไม่แนะนำให้มีรอยแยกด้านหลังหรือช่องป็อปอัพ

หากรูเจาะหรือไดคัทเป็นส่วนหนึ่งของงานออกแบบของวัสดุพิมพ์ แนะนำให้ใช้วิธีไทล์ (Tie) บริเวณที่ไม่มีการตัดขนาดเล็กเหล่านี้ (ประมาณ 1.6 มม. หรือ 0.06 นิ้ว) ช่วยให้แบบฟอร์มคงตัวและป้องกันการฉีกขาดที่รูเจาะและไดคัทในระหว่างการพิมพ์

สำหรับบริเวณที่ไดคัทหรือรูเจาะบรรจบกัน หรือทำให้เกิดผลิตภัณฑ์ปลายทางขนาดเล็ก รอยไทล์ (Tie) ที่มุมของงานออกแบบจะทำให้เกิดความคงตัวมากขึ้น ทั้งนี้ รอยไทล์อาจอยู่ที่จุดใดก็ได้ตลอดแนวรูเจาะหรือไดคัท สำหรับผลิตภัณฑ์ที่ไวต่อแรงกด รอยไทล์ (Tie) จะช่วยป้องกันไม่ให้ฉลากลอกออกจากแผ่นรองบุในขณะที่อยู่ในเครื่องพิมพ์ ทั้งนี้ ไม่สามารถใช้ไทล์ (Tie) เพื่อชดเชยความแรงในการปล่อยที่ไม่เพียงพอของสารยึดติดในงานออกแบบฉลากได้

เทคโนโลยีลูกกลิ้งดึงกระดาษ

เครื่องพิมพ์บางรุ่นมีชุดลูกกลิ้งดึงกระดาษที่ฟีดกระดาษได้น่าเชื่อถือมากกว่าระบบรัดมุมที่ใช้ในเครื่องพิมพ์รุ่นเก่า ชุดประกอบนี้จะมีลูกกลิ้งสองตัวที่สัมผัสกับกระดาษพิมพ์ โปรดหลีกเลี่ยงการใส่รูเจาะลึกที่บริเวณดังกล่าว เนื่องจากกระดาษอาจซ้อนกัน ทำให้เครื่องฟีดกระดาษหลายแผ่น รูเจาะที่อาจทำให้เกิดปัญหากระดาษซ้อนกันและตั้งแข็ง จึงควรอยู่นอกพื้นที่ของลูกกลิ้งดึงกระดาษบนขอบนำของกระดาษ ซึ่งแตกต่างจากช่องว่างขนาด 0.50 นิ้วที่เราแนะนำให้ทิ้งไว้ที่ด้านบนของฟอร์มสำหรับเครื่องพิมพ์ที่มีระบบรัดมุม ใช้รูเจาะไมโครเพื่อหลีกเลี่ยงปัญหากระดาษซ้อน

ตรวจสอบว่ารูเจาะอยู่นอกพื้นที่บนขอบนำของวัสดุพิมพ์ 0.12–0.91 นิ้ว

A

ตำแหน่งของลูกกลิ้งดึงกระดาษ

B

ทิศทางการป้อน


การปั๊มจมและปั๊มนูน

หลีกเลี่ยงวัสดุที่มีการปั๊มจมและปั๊มนูน การใช้วัสดุเหล่านี้อาจทำให้เครื่องฟีดกระดาษสองแผ่นและกระดาษซ้อนกัน อีกทั้งกระบวนการซึมของหมึกพิมพ์ยังช่วยลดความสูงของภาพที่นูนขึ้นได้อย่างมากอีกด้วย การพิมพ์ที่ใกล้กับรอยปั๊มนูนมากเกินไปจะส่งผลให้คุณภาพการพิมพ์ย่ำแย่และระดับการซึมของหมึกไม่ดี

เมทัลลิก

เราไม่แนะนำให้ใช้เมทัลลิกในฟอร์ม ไม่ว่าจะในหมึกหรือวัสดุอื่น เนื่องจากความสามารถในการนำไฟฟ้าและความสามารถในการปล่อยประจุ คุณสมบัตินี้อาจรบกวนการถ่ายโอนของหมึกและทำให้คุณภาพการพิมพ์ไม่ดี

งานออกแบบฟอร์มพื้นฐาน

ขณะออกแบบฟอร์ม ให้นับรวมพื้นที่ที่ไม่มีการพิมพ์ขนาด 8.38 มม. (0.33 นิ้ว) ที่ด้านบนและด้านล่างของฟอร์ม และ 6.35 มม. (0.25 นิ้ว) ที่สองด้านของฟอร์ม

โดยทั่วไป แนวการพิมพ์แนวตั้งเป็นการจัดวางที่แนะนำ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หากคุณกำลังพิมพ์บาร์โค้ด การเลือกแนวการพิมพ์แนวนอนอาจทำให้เกิดการผันแปรของความเร็วพาธกระดาษ ส่งผลให้เกิดการผันแปรของช่องสว่างขณะพิมพ์บาร์โค้ด